milkzaa

Thursday, January 25, 2007

Himalaya


L'Himalaya ou chaîne de l'Himalaya est une chaîne de montagnes qui s'étend à travers le Pakistan, l'Inde, le Népal, le Tibet et le Bhoutan. Elle se rattache à l'ouest à la chaîne de montagnes de l'Hindū-Kūsh en Afghanistan et au nord au plateau tibétain.
Le mot Himalaya vient du sanscrit et signifie « demeure de la neige » (him « neige », et alaya « maison, demeure »).
La plupart des plus hautes montagnes du monde sont situées dans cette chaîne, dont la plus haute : l'Everest (8844,43 m). Les hauts sommets de l'Himalaya ont donné lieu à de nombreuses expéditions d'alpinistes renommés.


เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya) เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางใต้ ออกจากที่ราบสูทิเบตทางเหนือ เป็นที่ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขาคานชันจุงกา (Kanchenjunga). ในทางศัพทมูลวิทยา คำว่า หิมาลัย มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง "ที่อยู่ของหิมะ" (หิม + อาลย)
เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ — ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน และเนปาล — เป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลก 2 สาย แอ่งแม่น้ำสินธุและแอ่งแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ

Pyramides d'Égypte






พีระมิด (Pyramid) ใน ประเทศอียิปต์ (Egypt) มีมากมายหลายแห่งด้วยกันแต่ที่มีชื่อเสียงที่สุด ได้แก่หมู่พีระมิดแห่ง กิซ่า (Giza) ซึ่งประกอบไปด้วย พีระมิดคีออปส์ (Cheops) คีเฟรน (Chephren) และแมนคีเร (Menkaure) พีระมิดทั้งสามสร้างเรียงต่อกันเป็นระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกของกรุงไคโร เมืองหลวงของประเทศอียิปต์ปัจจุบัน ด้วยโครงสร้างรูปทรงเรขาคณิตเฉพาะตัว ทำให้สามารถสังเกตเห็นได้ในระยะไกล รวมทั้งจาก อวกาศ

Le mastaba, construction quasi-rectangulaire, était la sépulture des souverains de l'Ancien Empire.
Les raisons du passage des mastabas aux pyramides ne sont pas clairement établies, mais on évoque généralement le souhait d'atteindre des hauteurs de plus en plus importantes pour manifester l'importance et la puissance du pharaon défunt. Les premiers mastabas, à étage unique, ont tout d'abord évolué vers des mastabas à deux étages permettant d'accueillir de nouvelles structures funéraires, le second étage étant moins large et moins haut que le premier.
Avec les débuts de la IIIe dynastie (vers -2700 à -2600), les mastabas sont devenus des pyramides dites à degrés, constituées de plusieurs étages successifs ayant la forme globale d'un « escalier gigantesque » s'élevant vers le ciel. La première et la plus célèbre de ces pyramides à degrés est la pyramide de Djéser à Saqqarah, dont l'architecte était Imhotep. Imhotep voulut ériger une pyramide à degrés s'élevant, tel un escalier gigantesque, vers le ciel afin de symboliser l'ascension du défunt du « monde souterrain » vers les « Cieux ».
L'étape suivante de l'évolution des pyramides à degrés fut l'édification par le roi Snéfrou d'une pyramide dite rhomboïdale sur le site de Dahchour. La pyramide rhomboïdale est une étape intermédiaire entre la pyramide à degrés et la pyramide à faces lisses. La pyramide rhomboïdale est une pyramide dont les faces lisses constituent une pente à sections d'inclinaisons décroissantes en direction du sommet. La non-uniformité de cette pente pourrait être expliquée par des difficultés architecturales vis-à-vis de la stabilité de la pyramide (pente originale trop abrupte) ou de son mode de construction (acheminement des blocs jusqu'à une certaine hauteur…), de difficultés d'approvisionnement (carrières, main-d'œuvre, situation géopolitique), ou encore un effet géométrique volontaire.
Ce type de pyramide est la dernière étape menant au stade ultime de l'évolution des pyramides d'Égypte vers les pyramides à faces lisses de la IVe dynastie (vers -2573 à -2454), parmi les
plus célèbres on trouve les pyramides de Khéops, Khéphren, et Mykérinos, à Gizeh au Caire.

Monday, January 22, 2007

พระปฐมเจดีย์



Phra Pathom Chedi is the highest stupa in the world with a height of 127 m. It is located in the town Nakhon Pathom, Thailand.
The name Phra Pathom Chedi means Holy chedi (stupa) of the beginning. The stupa at the location is first mentioned in scriptures of the year 675, however archaeological findings date a first stupa to the 4th century. In the 11th century it was overbuilt with a Khmer style prang, which was later overgrown by the jungle. The ruin was visited several times by the later King Mongkut during his time as a monk, and after his coronation he ordered the building of a new and more magnificent chedi at the site. After 17 years of construction it was finished in 1870, and the population of nearby Nakhon Chai Si was ordered to move to the newly created town around the chedi.


พระปฐมเจดีย์ เป็นปูชนียสถาน อันสำคัญของประเทศไทย อยู่ภายในวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า
พระปฐมเจดีย์ หรือเดิมเรียกว่า พระธมเจดีย์ มีฐานะเป็นมหาธาตุหลวง ของแผ่นดินสุวรรณภูมิ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า พระธมเจดีย์องค์นี้ อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้น เมื่อคราวที่พระสมณทูต ในพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิ ก็เป็นได้ เพราะพระเจดีย์เดิม มีลักษณะทรงโอคว่ำ หรือทรงมะนาวผ่าซีก แบบเดียวกับพระสถูปสาญจี แต่ปรากฏว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ ซึ่งพระองค์ฯ ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ ซึ่งตรงกับความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ของ พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ อันได้กล่าวไว้ว่า พระมหาเถรฯ ท่านทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับเมืองราด เมื่อคราวที่ท่านเสด็จกลับจากศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกา ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทานนามใหม่ว่า พระปฐมเจดีย์ ด้วยทรงเชื่อ ว่านี่คือเจดีย์แห่งแรกของสุวรรณภูมิ นั่นเอง
ในเรื่องนี้ นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดีบางท่าน ได้ระบุว่า พระปฐมเจดีย์ไม่ได้เป็นเจดีย์ที่เก่าที่สุดของสุวรรณภูมิ แต่เป็น พระมหาธาตุหลวง ในยุคทวารวดี มากกว่า เนื่องด้วยเหตุผลประกอบหลายประการ โดยเฉพาะ การค้นพบเจดีย์ ที่มีอายุเก่าแก่กว่าพระธมเจดีย์ และหลักฐานลายลักษณ์อักษร ที่ระบุว่า " พระเจดีย์องค์นี้ เดิม ขอมเรียก พระธม " ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชาวขอมจริงๆ หรือชาวลวรัฐ ซึ่งสมัยนั้นเราก็เรียกว่าขอม เช่น ขอมสบาดโขลญลำพง คำว่า ธม สำหรับชาวขอมนั้น แปลว่า ใหญ่ ตรงกับคำเมืองว่า หลวง ซึ่งเราก็เรียกพระนครธม ว่า พระนครหลวง ด้วยเหตุผลเดียวกัน
นอกจากนี้พระบรมราชสรีรางคาร รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรจุที่ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และฐานพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร ตามที่มีพระบรมราชโองการสั่งไว้ในพระราชพินัยกรรม

Le mont Fuji





ภูเขาฟูจิ (「富士山」, Fuji-san, — ฟุจิซัง?) เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณจังหวัดชิซึโอะกะ และจังหวัดยะมะนะชิ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของจังหวัดโตเกียว โดยในวันที่อากาศแจ่มใสสามารถมองเห็นจากโตเกียวได้ ในปัจจุบันภูเขาได้ถูกจัดโดยนักวิทยาศาสตร์อยู่ในลักษณะของภูเขาไฟที่มีโอกาสปะทุต่ำ โดยภูเขาไฟระเบิดครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2250 (ค.ศ. 1707) ใน ยุคเอโดะ
เชื่อว่ามีผู้ปีนเขาฟูจิ ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1206 โดยนักบวชท่านหนึ่ง และในช่วงระหว่างนั้นจนถึงยุคเมจิ ภูเขาฟูจิได้ชื่อว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ซึ่งห้ามผู้หญิงขึ้นเขา โดยในปัจจุบันภูเขาฟูจิเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ภูเขาฟูจิได้เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของญี่ปุ่น ซึ่งจะเห็นได้จากในงานเขียนหรือภาพวาดต่างๆ โดยเฉพาะภาพวาดของ โฮะกุไซ ที่มีให้เห็นในวรรณกรรมญี่ปุ่นและกาพย์กลอนที่สำคัญมากมาย
ภูเขาฟูจิยังเป็นฐานทัพของซามูไรต่างๆมากมายจากยุคอดีต เป็นที่ฝึกฝน ซึ่งในปัจจุบัน ฐานทัพหนึ่งของกองทหารญี่ปุ่นตั้งอยู่บริเวณตีนเขาฟูจิ
Le mont Fuji (富士山) est le point culminant du Japon avec 3 776 mètres d'altitude.
« montagne » (la plupart des kanji ont au moins deux lectures différentes, à employer selon le contexte), il arrive que les étrangers l'appellent « le Fujiyama ».
Malgré les apparences de montagne tranquille et paisible que nous lui donnons, le Fujisan est un volcan en activité sous surveillance constante. Au sommet du Mont Fuji il y a un observatoire spatial, les conditions d'observation du ciel étant les meilleures du japon, car loin de toute ville et en altitude.
Ce profil montagneux est devenu un des symboles du Japon. Il apparaît dans d'innombrables représentations et a été l'objet d'un attachement tout particulier des peintres japonais du XIXe siècle qui, comme le maître de l'estampe nipponne Hokusai, ont fortement influencé l'impressionnisme européen.

Wednesday, January 10, 2007

l'amour


AMOUR INTERDIT
Dans mon cœur
Sur ma peau
J’écris ton nom
Sur les pages de ma vie
Présent futur
J’écris ton nom
Sur le sable de toutes les mers
J’écris ton nom
Sur les dunes de mon dessert
J’écris ton nom
Sur les murs de ma chaumière
J’écris ton nom
Sur mon âme tourmente
Sur les galets de toutes les plages
J’écris ton nom
Dans le silence de ton absence
J’écris ton nom
Sur mes lèvres brûlants
Sur ma langue assoiffée
J’écris ton nom
Sur mes seins sur mes mains
J’écris ton nom
Sur mes rêves détruits
Sur mes espoirs anéantis
J’écris ton nom
Sur mes cuisses assoiffées
J’écris ton nom
Pour me rappeler ce doux supplice
Sur mon poignet
J’écris ton nom
Pour te dire que toi seul j’ai aimé
Ma voix le crie
Ma bouche me la défendue
Mais j’écris ton nom
Dans mon cœur
En lettre de feu
En lettre de flamme
Écris ton nom
Ma raison chavire
Mes sentiments te désirent
J’écris ton nom
J’ai grandi avec en rêvant
J’écris ton nom
Toute ma vie j’ai voulu te connaître
J’ai voulu t’apprivoiser
C’est toi
Je t’ai reconnu
On t’a donné pour nom
AMOUR INTERDIT

Poème d'Amour

Je suis perdu, vois-tu,

je suis noyé,

inondé d'amour;

je ne sais plus si je vis,

si je mange,

si je respire,

si je parle;

je sais que je t'aime.

ดอกกุหลาบ.....กับความหมาย

กุหลาบแดงเข้ม ( สีเหมือนไวน์แดง )...." เธอช่างมีเสน่ห์งามเหลือเกิน "

กุหลาบตูมสีแดง...."ฉันเริ่มรักเธอแล้วจ้ะ "

กุหลาบบานสีแดง...." ฉันรักเธอเข้าแล้ว "

กุหลาบสีแดงที่โรยแล้ว...." ความรักของเรานั้นจบลงแล้ว "

กุหลาบแดงและขาวรวมกัน ..." รักสองเรานั้นเป็นหนึ่งเดียวกัน "

กุหลาบสีขาว" ฉันรักเธอด้วยความจริงใจ ไม่หวังสิ่งใดตอบแทน "

กุหลาบตูมสีขาว" เธอช่างไร้เดียงสาน่าทนุถนอมเหลือเกิน ฉันรักเธอ "

กุหลาบสีขาวที่โรยแล้ว..." เสน่ห์ของเธอมันเริ่มลดน้อยถอยลงแล้วนะจ๊ะ "

กุหลาบสีชมพู..." ขอให้รักเรานั้นเคียงคู่อยู่นิรันดร "

กุหลาบสีเหลือง..." รักเราที่ผ่านมาเปรียบเสมือนเพื่อนที่ดีต่อกันเสมอนะจ๊ะ "

กุหลาบสีส้ม..." ฉันรักเธอเหมือนเดิมนะจ๊ะ "

วันเด็ก


ประวัติความเป็นมาของวันเด็ก
นายวี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของเด็ก และเพื่อกระตุ้นเตือนให้เด็กได้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเอง
งานวันเด็กแห่งชาติในเมืองไทยครั้งแรกนั้น จัดขึ้นในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ 2498 และได้จัดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี จนถึง พ.ศ. 2506 จึงมีความคิดว่าควรจะเปลี่ยนไปจัดงานวันเด็ก ในวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงที่พ้นจากฤดูฝนมาแล้วและเป็นวันหยุดราชการทำให้เกิดความสะดวกด้วยประการทั้งปวง
ในปี พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เริ่มจัดในปี พ.ศ. 2508 ซึ่งถือเอาวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม เป็นวันเด็กแห่งชาติ มาจนบัดนี้
รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
วันเด็กแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงโปรดประทานพระคติธรรม และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จะมอบคำขวัญวันเด็กให้กับเด็กไทยทุกปี
คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ จากนายกรัฐมนตรี ในปีต่าง ๆ
ในป พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษติ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เห็นคุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคิด คติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ นายกรัฐมนตรีในสมัยต่อ ๆ มา ได้ถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาดังนี้
ปี พ.ศ. 2502 ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
ปี พ.ศ. 2503 ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
ปี พ.ศ. 2504 ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
ปี พ.ศ. 2505 ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
ปี พ.ศ. 2506 ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
ปี พ.ศ. 2507 --งดการจัดงานวันเด็ก--
ปี พ.ศ. 2508 เด็กจะเจริญต้องรักเรียนและเพียรทำดี
ปี พ.ศ. 2509 เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะบากบั่น และสมานสามัคคี
ปี พ.ศ. 2510 อนาตดของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรง เรียนดี มีความประพฤติเรียบร้อย
ปี พ.ศ. 2511 ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาด และรักชาติยิ่ง
ปี พ.ศ. 2512 รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
ปี พ.ศ. 2513 เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาตคแจ่มใส
ปี พ.ศ. 2514 ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
ปี พ.ศ. 2515 เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
ปี พ.ศ. 2516 เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
ปี พ.ศ. 2517 สามัคคี คือ พลัง
ปี พ.ศ. 2518 เด็กคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความดี
ปี พ.ศ. 2519 เด็กดีต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัยเสียแต่บัดนี้
ปี พ.ศ. 2520 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
ปี พ.ศ. 2521 เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง
ปี พ.ศ. 2522 เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
ปี พ.ศ. 2523 อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
ปี พ.ศ. 2524 เด็กไทยมีวินัย ใจซื่อสัตย์ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
ปี พ.ศ. 2525 ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
ปี พ.ศ. 2526 รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ มีวินัย และคุณธรรม
ปี พ.ศ. 2527 รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดี มีความคิด สุจริต ใจมั่น หมั่นศึกษา
ปี พ.ศ. 2528 สามัคคี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
ปี พ.ศ. 2529 นิยมไทย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
ปี พ.ศ. 2530-2531 นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
ปี พ.ศ. 2532-2533 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
ปี พ.ศ. 2534 รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
ปี พ.ศ. 2535 สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
ปี พ.ศ. 2536-2537 ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
ปี พ.ศ. 2538 สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
ปี พ.ศ. 2539 มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
ปี พ.ศ. 2540 รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
ปี พ.ศ. 2541-2542 ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
ปี พ.ศ. 2543-2544 มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
ปี พ.ศ. 2545 เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
ปี พ.ศ. 2546 เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
ปี พ.ศ. 2547 รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดี ๆ อนาคตดีแน่นอน
ปี พ.ศ. 2548 เด็กรุ่นใหม่ต้อง ขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
 
nikkijung _narak